Take care Insure บริการดีๆ มีไว้ให้เธอ.. Let me try...then you trust..

Take care Insure บริการดีๆ มีไว้ให้เธอ.. Let me try...then you trust..

เมนู

สิ่งที่ลูกค้าควรรู้หลังทำประกัน


สิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ของลูกค้าประกันชีวิต

หลังจากลูกค้าได้ตัดสินใจทำประกันชีวิตแล้ว ลูกค้าควรทราบสิทธิเบื้องต้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวท่านเอง  ถ้าหากระหว่างทางเกิดมีเหตุผลต้องปิดกรมธรรม์ก่อนครบสัญญา หรือ ต้องการยกเลิกกรมธรรม์ หรือ ติดขัดด้วยปัญหาอะไรก็ตาม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวท่าน กรุณาอ่านข้อมูลด้านล่างนี้ เพื่อใช้ในการพิจารณาตัดสินใจค่ะ


และที่สำคัญ อย่าลืมเก็บกรมธรรม์ประกันชีวิตของท่านให้หาง่าย และเก็บในที่ปลอดภัยนะคะ

เพราะถ้าทำต้องนิติกรรมอันใดเกี่ยวกับประกันชีวิตจำเป็นต้องใช้เล่มกรมธรรม์ และควรเก็บเอกสารการขาย ที่ตัวแทนนำเสนอ ที่ท่านได้เลือกแบบประกันแล้ว แนบไว้ในเล่มทุกครั้ง นะคะ


เพราะหากเกิดปัญหา ความเข้าใจ หรือการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน จะได้มีเอกสารเป็นหลักฐานอ้างอิงได้คะ  :-


* กรณีกรมธรรม์สูญหายต้องขอออกเล่มใหม่จะมีค่าธรรมเนียม 305.- บาท *


1. กรณีที่ต้องการยกเลิกกรมธรรม์หลังจากตัดสินใจซื้อแล้วต่อมาเปลี่ยนใจอยากยกเลิกกรมธรรม์ ท่านสามารถใช้สิทธิ์ที่เรียกว่า Free Look  Period คือ หลังกรมธรรม์ออกมาแล้ว 15 วัน ถ้าท่านเปลี่ยนใจยกเลิก ก็สามารถทำได้ค่ะ โดยที่บริษัทฯ จะคืนเบี้ยประกันทั้งหมดให้ (หัก) หากมีค่าใช้จ่าย หรือ ธรรมเนียมในการออกกรมธรรม์ในบางบริษัทฯค่ะ


2. กรณีผ่อนผัน ในกรณี้ หมายถึง ระหว่างที่กรมธรรม์มีผลบังคับ พอถึงกำหนดชำระเบี้ย ท่านสามารถขอผ่อนผันการจ่ายเบี้ยประกันได้ถึง 30 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ หรือ สัญญาเพิ่มเติมแต่ละแบบ คือ ถ้าหากมีการเคลมเกิดขึ้นในในช่วงที่ผ่อนผัน ท่านยังสามารถเคลมได้ แต่ในบางบริษัทฯ อาจขอให้ท่านจ่ายเบี้ยเข้าไปก่อนถ้าเป็นช่วงในดิว แล้วค่อยทำเคลมภายหลังได้

แต่ถ้าหากท่านจ่ายเกินกำหนดผ่อนผัน 30 วัน แต่ไม่เกิน 45 วัน สัญญาเพิ่มเติมจะเคลมไม่ได้ จะเริ่มนับเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ถ้าเกิน 45 วันจะเคลมไม่ได้ จะเคลมได้ก็ต่อเมื่อท่านจ่ายเบี้ยเข้าไปแล้วหลัง 45 แล้วนับไปอีก 30 วันถึงจะเริ่มเคลมได้ เป็นต้น

แต่ในกรมธรรม์บางเล่ม ถ้ามีมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์พอกู้จ่าย แม้เกิน 45 วัน บริษัทฯ จะตัดเป็นการกู้จ่ายอัติโนมัติ เพื่อให้กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ คือ เคลมได้ปกติ แต่ก็จะทำให้เกิดภาระหนี้สิน  ทางที่ดีถ้าไม่จำเป็นก็พยายามอย่าให้เกินดีกว่าค่ะ หรือ ถ้าจำเป็นๆ จริง ก็รีบหาเงินมาจ่ายเข้าไป หรือ จะถยอยจ่ายก็ได้ค่ะ จะได้ไม่เกิดดอกเบี้ย หรือ ภาระหนี้สินค่ะ


3. การขอกู้กรมธรรม์  หากบางครั้งลูกค้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อน ก็สามารถทำเรื่องขอกู้กรมธรรม์มาใช้ได้นะคะ ถ้าหากในกรมธรรม์มีมูลค่าพอที่จะกู้ ท่านสามารถตรวจสอบยอดขอกู้กับบริษัท ฯ โดยตรง หรือ ตัวแทนของท่านได้ค่ะ โดยเสียอัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของบริษัทฯ ค่ะ  ก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินในบางช่วงของชีวิต  และยังคงมีความคุ้มครองชีวิตเหมือนเดิมค่ะ


4. การขยายเวลา คือการที่ลูกค้าขอหยุดการชำระเบี้ย แต่ยังไม่ปิดกรมธรรม์ จะทำให้กรมธรรม์ขยายเวลาความคุ้มครองไประยะเวลาหนึ่ง ถ้าหากเสียชีวิต ก็ยังได้ทุนประกันเท่าเดิม แต่ระหว่างที่ขยายเวลา จะไม่มีเงินคืน

จะได้รับเงินก้อนตอนครบกำหนดขยายเวลา จำนวนหนึ่ง กรณีที่ผู้เอาประกันยังอยู่


5. การใช้เงินสำเร็จ – หมาย ถึง กรมธรรม์ที่หยุดชำระเบี้ย แต่ยังคงได้รับความคุ้มครองทุนประกันชีวิต แต่ทุนประกันจะลดลงค่ะ  ถ้าเป็นกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์บางแบบ อาจยังคงมีเงินคืนตามเงื่อนไข ระหว่างทางได้ แต่ตามเปอร์เซ็นต์ของทุนประกันที่ลดลงนะค่ะ


6.  การขอตัดอนุสัญญาบางตัว เช่น ค่ารักษาพยาบาล, ค่าชดเชยรายได้,ความคุ้มครองเพิ่มเติมเนื่องจากโรคร้ายแรง เป็นต้นค่ะ ก็ช่วยให้ค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายลดลง แต่แบบนี้ ความคุ้มครองที่เราตัดออกก็ลดลง หรือ ไม่ได้รับความคุ้มครองในส่วนที่ยกเลิก แต่ยังคงมีสัญญาหลักของประกันชีวิตอยู่ค่ะ คือถ้าเราเป็นอะไรไป อย่างน้อยก็มีทุนประกันชีวิตให้กับคนข้างหลังค่ะ ส่วนอนุสัญญาตัวไหนที่ไม่ได้ตัดก็ยังมีผลบังคับอยู่เช่นเดิมค่ะ


7. การขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ย   โดย ปกติการชำระเบี้ยประกันส่วนใหญ่จะเป็นแบบรายปี   แต่ถ้าไม่ไหว ช่วงไหนมีติดขัด เราสามารถขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ย เป็น ราย 3 เดือน, ราย 6 เดือน หรือ รายเดือน ก็ได้ค่ะ เราแบ่งจ่ายได้ค่ะ เสียดอกเบี้ยนิดเดียว เพื่อให้กรมธรรม์มีผลบังคับ ดีกว่าปล่อยขาดไปเลยค่ะ


8. หมั่นทบทวนผลประโยชน์ในกรรมธรรม์ โดยแจ้งตัวแทนได้ตลอด เพื่อให้ข้อมูลที่อัพเดท และแนะนำ ปรับ หรือ เพิ่ม ความคุ้มครองตามความเหมาะสมของลูกค้า


9. ควรจำ และ จดบันทึก ดิวครบกำหนดชำระเบี้ย และตรวจดูใบแจ้ง เอกสารต่างๆ จากทางบริษัทเพื่อรับข่าวสารใหม่ ๆ ใบรายงานกรมธรรม์ประจำปี และ ใบเสร็จรับเงินนะคะ


กรณีใบเสร็จตัวจริงสูญหาย สามารถแจ้งตัวแทน ให้ขอหนังสือรับรองการชำระเบี้ยได้ ก่อนยื่นภาษีประจำปี นะคะ


10. ควรทำสรุปข้อมูลผลประโยนชน์ในกรมธรรม์ จดบันทึกไว้เป็นภาษาลูกค้าเอง ที่เข้าใจง่าย จะได้ทราบว่า เราซื้ออะไรบ้าง มีความคุ้มครองอย่างไร เพราะบางทีนานไปอาจจะลืม และภาษาประกันในกรมธรรม์ก็เข้าใจยากคะ


กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นสัญญาระยะยาว บางทีตัวแทน อาจจากไปก่อนวัยอันควร เราควรทราบข้อมูลในกรมธรรม์ เบื้องต้นของเราเองจะเป็นประโยชน์มากคะ


ทั้งหมด นี้ก็พอจะเป็นทางออกคร่าว ๆ ให้กับผู้ประสบปัญหาได้ไม่มากก็น้อยนะคะ แต่ยังไรก็แล้ว


ผู้เขียนแนะนำว่าอันดับแรก เราควรปรึกษาตัวแทนของท่านดูก่อนค่ะว่า กรมธรรม์ของท่าน เหมาะที่เลือกใช้ข้อไหนที่จะให้ผลประโยชน์กับท่านมากที่สุดค่ะ ... ทุกปัญหามีทางออกเสมอคะ..



เรียน   ลูกค้าประกันทุกท่านคะ


ขณะนี้ทางบริษัท ได้ออกระบบการจ่ายเช็คเงินคืน เงินปันผล เงินกู้กรมธรรม์ เงินสินไหมทดแทน ผ่านระบบ AIA PAY เพื่อลูกค้าจะได้รับเงินเร็วขึ้น ระบบจะโอนเงินเข้าบัญชีลูกค้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านหน่วยตัวแทน เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันเช็คสูญหาย


หนิงขออนุญาติเรียนเชิญชวนคุณลูกค้าทุกท่าน ทำรายการผ่านลิงค์ ด้านล่างนี้นะคะ


เพื่อผลประโยชน์ของท่าน กรุณาลงทะเบียนได้เลยนะคะ 😊 👇


https://iservice.aia.co.th/th/aiapay/aia-pay.html

การใช้ Fax Claim กรณีนอนร.พ.
การใช้ Fax Claim กรณีนอนร.พ.

เรื่องการใช้   ✅ Fax Claim


การใช้ fax claim ในกรณี นอนร.พ. สามารถ เริ่มใช้ได้ หลังกรมธรรม์อนุมัติ 30 วันสำหรับโรคภัยไข้เจ็บปกติ


ยกเว้นบางโรค เช่น ร้ายแรง เรื้อรัง  120 วัน (รายละเอียดโรคในกรมธรรม์)


หมายเหตุ : ข้อสำคัญ :-


1. การใช้ fax claim

คือลูกค้าจ่ายเฉพาะส่วนเกินสิทธิ์ ในกรณีที่ไม่ต้องขอประวัติการรักษาเพิ่มเติม บริษัท ฯ สามารถตรวจสอบ และอนุมัติได้เลย


2. ระยะเวลาในการใช้ Fax Claim โดยประมาณ 2-3 ช.ม. หลังบริษัทฯ ได้รับเอกสารจากทางร.พ.ครบทุกอย่าง


ดังนั้นกรณีที่ลูกค้าที่เร่งรีบ ไม่มีเวลารอ รบกวนคุณลูกค้าสำรองเงินก่อน และส่งเอกสารการเคลมให้ตัวแทน เพื่อดำเนินการเคลมให้ภายหลัง


3. กรณีลูกค้ามีประวัติการรักษาหลายที่ บางโรคอาจต้องสำรองเงิน เพราะบริษัท ฯ อาจรวบรวมเอกสารจากทุกร.พ. ไม่ทันภายใน 3 ช.ม.


4. กรณีลูกค้าเตรีมการรักษา โดยมีค่าใช้จ่ายสูง สามารถให้ทางบริษัท ฯ หรือ ร.พ. ประเมินราคาค่าใช้จ่ายให้ก่อนได้


โดยที่ลูกค้าเตรียมขอประวัติการรักษาทั้งหมด และ ราคาค่าใช้จ่ายของร.พ. ส่งผ่านตัวแทนได้


บริษัท ใช้เวลา ประมาณ 7-10 วันในการพิจารณาประเมินให้คะ

กองทุนประกันชีวิต
กองทุนประกันชีวิต

กองทุนประกันชีวิต

เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ คือเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าว ไม่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิต จนล่วงพ้นอายุความ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีสิทธิในเงินก้อนนั้น ๆ) บริษัทต้อง ส่งเงินดังกล่าวเข้ากองทุนประกันชีวิต ตามกฎหมาย โดยกองทุนฯสามารถจ่ายคืนผู้มีสิทธิได้อีกภายใน 10 ปี นับแต่วันล่วงพ้นอายุความ

สาเหตุหลักที่ทําให้เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ

1. บริษัทประกันไม่สามารถติดต่อผู้เอาประกันภัยบางรายได้ เนื่องจากสาเหตุเช่น ย้ายที่อยู่แล้วมิได้แจ้งให้บริษัทประกันทราบ

2. ผู้เอาประกันภัยบางราย เสียชีวิตโดยมิเคยแจ้งให้ทายาท หรือผู้รับผลประโยชน์ทราบว่าตนได้ทํา ประกันชีวิตไว้ทําให้ผู้รับผลประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัย มิได้เรียกร้องเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์

3. ผู้เอาประกันภัยบางรายไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อทําให้กรมธรรม์ขาดความคุ้มครอง แต่ไม่ทราบว่ากรมธรรม์มีมูลค่าเงินสดคงเหลือ

4. ผู้เอาประกันภัย ได้รับเช็คจากบริษัทแล้ว แต่มิได้นําเช็คไปขึ้นเงิน

การขอรับเงินล่วงพ้นอายุความคืน มีด้วยกัน 2 วิธี

1. ลงทะเบียนตรวจสอบสิทธิและขอรับเงินผ่านช่องทางออนไลน์ *แนะนํา เป็นช่องทางที่สะดวกรวดเร็ว ที่สุด (แนบลิงค์ ระบบใหม่)

2. ยื่นเอกสารหลักฐานส่งเข้ามาที่กองทุน (เดินทางมาที่กองทุน หรือส่งทางไปรษณีย์) หมายเหตุ: การจ่ายเงินฯ กองทุนประกันชีวิตจะโอนเงินเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินเท่านั้น ไม่สามารถจ่าย

เป็นเงินสดหรือเช็คธนาคารได้

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ แบบคําขอ Download แนบลิงค์ พร้อมเอกสารประกอบแล้วแต่กรณี ก. กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขอรับ ใช้เอกสารประกอบแบบคําขอ ดังนี้

1. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้เอาประกัน

2. สําเนาหน้าบัญชีธนาคารออมทรัพย์ของผู้เอาประกัน

ข. กรณีทายาทของผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขอรับ (ผู้เอาประกันเสียชีวิต) ใช้เอกสารประกอบแบบคําขอ ดังนี้

1. หนังสือยินยอมจากทายาททุกคนให้มารับเงิน (ตามแบบที่กองทุนกําหนด) Download แนบลิงค์

2. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของทายาท (ทุกราย)

3. สําเนาใบมรณบัตรของผู้เอาประกัน

4. สําเนาหน้าบัญชีธนาคารออมทรัพย์ของทายาทที่เป็นคนรับเงิน

หากมีการตั้งผู้จัดการมรดก

1.จัดการมรดก (กรณียื่นขอรับเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป)

คําสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก

2. สําเนาใบมรณบัตรของผู้เอาประกัน

3. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้จัดการมรดก

4. สําเนาหน้าบัญชีธนาคารออมทรัพย์ของผู้จัดการมรดก

ขอบคุณข้อมูล: กองทุนประกันชีวิต

https://lifeif.or.th/knows-Policy-money-overdue

ตรวจสอบสิทธิ์

https://lifeif.appspot.com/enquiry

takecareinsure by sirin
การตั้งค่าคุกกี้
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)