Take care Insure บริการดีๆ มีไว้ให้เธอ.. Let me try...then you trust..

Take care Insure บริการดีๆ มีไว้ให้เธอ.. Let me try...then you trust..

เมนู

คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับประกันชีวิต

1 May 2015


รวมคำถามที่ลูกค้าอยากรู้เกี่ยวกับประกันชีวิต

ผู้เขียนได้รวบรวมหัวข้อคำถามที่สำคัญ ที่เป็นประโยชน์และสาระที่ควรรู้มาตอบให้ตามหัวข้อด้านล่างนี้ ท่านใดมีคำถามเพิ่มเติม สามารถส่งมาได้เลยนะคะ เรามีการปรับปรุงข้อมูลและเนื้อหาให้ตลอดค่ะ :-

1. กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต แต่ลูกหลานไม่รู้ว่าทำกับประกันไว้ที่ไหน จะตรวจสอบอย่างไร

ตอบ :  สามารถทำจดหมายยื่นคำร้องมาที่สนง.คปภ. ระบุชื่อ-สกุล ของผู้เอาประกัน ว่าขอตรวจสอบการทำประกันชีวิต หรือ สอบถามสายด่วนประกันภัยได้ค่ะ

2. กรณีที่ซื้อประกันแล้ว ต่อมาเกิดเปลี่ยนใจอยากยกเลิก ต้องทำยังไง

ตอบ :   แบ่งเป็น 2 กรณี

2.1 กรณีที่ซื้อผ่านทางตัวแทน สามารถคืนได้ภายได้ ภายใน 15 วัน นับจากได้รับกรมธรรม์  (Free Look Period) โดยอาจเสียค่าธรรมเนียม (ถ้ามี)

2.2 กรณีซื้อผ่าน call center  สามารถคืนได้ภายใน 30 วัน นับจากวันได้รับกรมธรรม์ โดยทำหนังสือขอยกเลิก และ ส่งกรมธรรม์คืนไปที่บริษัทประกันภัยนั้นๆ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนค่ะ

3.  การเบิกค่ารักษาพยาบาลจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จตัวจริงไหม หากมีหลายที่จะเบิกต้องทำอย่างไร

ตอบ  :  การเบิกค่ารักษาพยาบาลจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จตัวจริงค่ะ หากมีหลายที่ต้องเบิกต้องเบิกที่ละที่ก่อนแล้วแจ้งบริษัท เพื่อขอใบเสร็จและเอกสารการเคลมคืน เพื่อไปเบิกที่ต่อไป

ส่วนการเบิกค่าชดเชยรายวัน ไม่จำเป็นต้องใช้ใบเสร็จตัวจริงค่ะ ใช้สำเนา หรือใบรับรองแพทย์ที่มีตราประทับได้ค่ะ

4.  ถ้าไม่ประสงค์ให้พนักงานโทรมาขายประกันทางโทรศัพท์ รู้สึกอึดอัดและลำคาญต้องทำอย่างไร

ตอบ :  ท่านสามารถแจ้งความจำนงไปที่สายด่วนคปภ. พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ประสงค์ให้ขายประกันได้เลยค่ะ 

5.  กรณีซื้อประกันทางโทรศัพท์ และตัดบัตรเครดิต อยากยกเลิกได้้ไหม

ตอบ :  ท่านสามารถยกเลิกได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ โดยส่งคืนกรมธรรม์และหนังสือขอยกเลิกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปที่บริษัทฯได้เลยค่ะ ส่วนการยกเลิกบัตรเครดิต ต้องทำเรื่องแจ้งยกเลิกกับบริษัทบัตรเครดิตเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยค่ะ

6.  ซื้อประกันสุขภาพให้พ่อ แม่ ใข้หักภาษีได้หรือไม่

ตอบ :  ใช้หักเป็นค่าลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดา มารดาได้ค่ะ แต่บิดา หรือมารดา ต้องมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท ต่อปี / คน และต้องมีอายุเกิน 60 ปี ขึ้นไป บุตรจึงสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน คนละ 15,000

7.  กรณีซื้อประกันไว้หลายบริษัท จะซ้ำซ้อน เบิกได้ทุกที่ไหม

ตอบ :  เบิกได้ทุกทีค่ะ ไม่ซ้ำซ้อน ภายใต้เงื่อนไขในกรมธรรม์ ส่วนค่ารักษาพยาบาลเบิกได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวงเงินที่ซื้อไว้ในกรมธรรม์ ส่วนค่าชดเชย เบิกได้หมดทุกที่ค่ะ

8.  กรณีที่ลูกค้าปกปิดข้อมูลทางด้านสุขภาพ แต่ส่งเบี้ยมาเกินกว่า 2 ปี แล้วต่อมามีการเคลมโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน จะเคลมได้ไหม

ตอบ :  สัญญาประกันชีวิตมีหลักที่สำคัญ คือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องมีความสุจริตใจอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้เอาประกันต้องแถลงข้อมูลที่เป็นจริง หากมีการปกปิด สัญญาที่เกิดขึ้นถือเป็นโมฆียะ บริษัทมีสิทธิ์บอกล้างได้ และหากมีการเคลมเกิดขึ้นก่อนภายใน 2 ปี บริษัทใช้สิทธิบอกล้าง ไม่จ่ายสินไหมทดแทน แต่จะคืนเบี้ยประกันที่ชำระมาเท่านั้นค่ะ

หากเกินกว่า 2 ปี แล้ว (ต้องชำระเบี้ยปีที่ 3 แล้ว) สิทธิ์ในการบอกล้างเป็นระงับ ดั้งน้นบริษัทจะต้องคุ้มครองสัญญาหลัก กรณีเสียชีวิต แต่หากเป็นค่ารักษาพยาบาล เคลมโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน บริษัทมีสิทธิ์ปฏิเสธได้ค่ะ แต่หากเป็นโรคอื่นสามารถเคลมได้ตามปกติค่ะ ถ้ากรมธรรม์ยังมีผลบังคับค่ะ

9.  ซื้อประกันแล้วส่งต่อไม่ไหว ทำไงดี

ตอบ :  มีลูกค้าหลายคนที่บางครั้งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆมาฝากค่ะ ท่านสามารถเลือกทำตามคำแนะนำนี้ได้ ตามความเหมาะสมของแต่ละกรมธรรม์ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบประกัน ระยะเวลาการส่งเบี้ย แล้วพิจารณาดูอีกทีว่าจะเลือกแบบไหน

  • ขอผ่อนผันการชำระเบี้ย โดยปกติบริษัทฯ ผ่อนผันให้ 31 วัน
  • ขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ย เป็นรายเดือน รายสามเดือน รายครึ่งปี
  • ลดทุนประกัน
  • ตัดอนุสัญญาเพิ่มเติมบางตัวในกรมธรรม์
  • ขอหยุดชำระเบี้ย โดยเลือกเป็น 1) การขยายเวลา 2) การใช้เงินสำเร็จ  (ดูรายละเอียดคำอธิบายในหัวข้อด้านซ้ายมือ "สิ่งที่ลูกค้าควรรู้หลังทำ")
  • การกู้กรมธรรม์
  • การเวนคืน หรือ ปิดกรมธรรม์

10.  หากมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นในช่วงระยะผ่อนผันจะเคลมได้ไหม

ตอบ :  ถ้าอยู่ในช่วงภายในผ่อนผัน ไม่เกิน 31 วัน ยังเคลมได้ค่ะ แต่ผู้เอาประกันต้องชำระเบี้ยปีต่อเข้ามาก่อนจึงสามารถทำเคลมได้ค่ะ 

11.  ถ้าเกินช่วงเวลาผ่อนผัน 31 วัน แล้วยังไม่ได้ชำระเบี้ยจะเป็นยังไง

ตอบ : 

  • หากเกิน 31 วัน จะเคลมค่ารักษาพยาบาล หรือ อนุสัญญาบางตัวยังไม่ได้ ต้องเริ่มนับสิทธิ์ความคุ้มครองใหม่นับแต่วันชำระเบี้ยเข้าไปล่าสุด เช่น ค่ารักษาพยาบาลจะเริ่มคุ้มครองโรคภัย ไข้เจ็บทั่วไป 30 วัน หลังจากชำระเบี้ย ส่วนโรคร้ายแรงบางโรคอาจต้องเริ่มนับความคุ้มครองใหม่ ตั้งแต่ 90-120 วัน
  • หากเกิน 45 วัน แล้วกรมธรรม์มีมูลค่าเงินสดเหลือพอกู้ ระบบจะตัดเป็นกู้อัติโนมัติ กรมธรรม์จะมีผลบังคับตามปกติ แต่จะเกิดดอกเบี้ย ผู้เอาประกันสามารถถยอยผ่อนชำระคืนเงินกู้ได้ เพื่อให้กรมธรรม์มีผลประโยชน์ครบตามเดิมค่ะ

รู้หรือไม่ !!คะว่า...???


ประชาชนเมื่อ “ทำประกันชีวิต” ไว้แล้วเกิน 2 ปี และส่งเบี้ยปีต่ออายุเกิน 5 ปี จากนั้นไม่ได้ส่งเบี้ยต่ออายุ จนกรมธรรม์ขาดความคุ้มครอง และไม่ได้เวนคืนกรมธรรม์


หรือจนเวลาล่วงพ้น 10 ปี บริษัทประกันชีวิตต้องส่งเงินเข้ากองทุนประกันชีวิตตามกฎหมาย


ซึ่งจริงๆ ยังมีมูลค่าเงินสดอยู่ ประชาชนสามารถขอรับเงินคืนได้ที่กองทุนประกันชีวิต


บอกเลยว่ามีลูกค้าหลายท่านที่ไม่ทราบข้อมูลนี้ และตัวแทนก็ติดต่อลูกค้าไม่ได้ ซึ่งอยากจะบอกข้อมูล และอยากจะแนะนำ


หากมีปัญหาเกี่ยวกับประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปัญหา การเงิน เศรษฐกิจ สุขภาพ หรืออื่นๆ 


อยากเรียนแนะนำให้ติดต่อตัวแทน เพื่อช่วยหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตของท่านคะ


สามารถเช็คสิทธิ์ได้ที่กองทุนประกันชีวิต 👇


https://lifeif.appspot.com/enquiry


takecareinsure by sirin
การตั้งค่าคุกกี้
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)